Amazon Seller Account – การจัดการหลังร้าน
เรามาดูหัวข้อต่างๆของ การจัดการหลังร้าน Amazon Seller Account กันครับว่ามีหัวข้ออะไรบ้าง ซึ่งแต่ละหัวข้อก็จะมีความสําคัญแตกต่างกันไปโดยเฉพาะหัวข้อ Account Health นั้นมีผลทําให้คุณโดนปิดร้านได้ตลอดเวลาถ้าเราทําตามระเบียบของ Amazon ไม่ได้
หลังจากเปิดร้านได้แล้ว เรามาดูว่าหลังร้านของ Seller Account Amazon มีอะไรกันบ้างครับ
1. ส่วนแรกเลยครับ สมัครแอ๊คเค้า USA จะได้สิทธิ์ขาย 3 ประเทศ เราเลือกได้น่ะครับ (USA,Canada,Mexico)

2. Your Order – สรุปออร์เดอร์ของเรา ว่ามีอะไรบ้าง
- Pending Order ออร์เดอร์ที่ยังไม่จ่ายเงิน
- Unshipped ออร์เดอร์ที่ยังไม่ได้ส่ง
- Return Request ออ์เดอร์ที่ลูกค้าขอคืนสินค้า (ต้องมีที่อยู่ใน USA ถึงจะทําได้)
นอกนั้นก็สรุปออร์เดอร์ของเราครับ Seller Fulfilled ส่งเอง , Fulfilled by Amazon ส่งแบบ FBA (การนําสินค้าของเราไปเก็บใว้ที่คลังสินค้า Amazon แล้วให้ Amazon จัดการส่งออร์เดอร์ให้เรา)
3. Performance – คุณภาพของร้านอันนี้สําคัญมากๆ เหมือนระเบียบที่วางใว้ให้ร้านค้าแต่ละร้านต้องจัดการให้ได้ซึ่งถ้าทําไม่ได้ก็อาจจะมีผลตามมาหลายอย่างเช่น Buy Box หาย,โดนปิดร้าน,โดนดองเงิน เป็นต้น
- Buyer Massage – ข้อความจากลูกค้าของเรา ต้องตอบภาพใน 24 ชม.
- A-to-z Guarantee claims – สรุปจํานวนลูกค้าไม่พอใจสินค้า แล้วเปิด เคลมผ่านระบบของ Amazon
- Chargeback claims – สรุปจํานวนลูกค้าไม่พอใจสินค้า แล้วเปิด เคลมผ่านระบบของธนาคารของลูกค้า
- Buyer Messages – จํานวนอีเมลจากลูกค้า แบ่งเป็น
- Under 24 hour target อีเมลที่ต้องตอบใน 24ชม.
- Over 24 hour target – จํานวนอีเมลที่ยังไม่ตอบและเกิน 24ชม. แล้ว
Account Health – สุขภาพของร้านของเรา ในด้านคุณภาพสินค้า,การดูแลลูกค้าและการลงขายสินค้าให้ถูกระเบียบของ Amazon ซึ่งแตะละหัวข้อนั้นสําคัญมากๆ ถ้าทําไม่ได้มีสิทธิ์โดนปิดร้านได้น่ะครับ

Customer Service Performance
- Order Defect Rate – สรูปจํานวน Order Defect ในแต่ละหัวข้อ รวมกันต้องไม่เกิน 1% Target: under 1% มีดังนี้
- Negative feedback – คะแนนความพึงพอใจสินค้าหรือบริการของเรา ถ้าเราได้1-2ดาวก็จะคิดเป็น Defect Rate
- (สูงสุด 5ดาว 1-2ดาวไม่ดีโดนคิดเป็น Defect Rate ,3ดาว ไม่บวกไม่ลบ 4-5ได้คะแนนดี)
- A-to-z Guarantee claims – ลูกค้าไม่พอใจสินค้าอยากได้เงินคืนร้องเรียนผ่านระบบ Amazon อาจเกิดจากความผิดพลาดของเราเช่นสินค้า ไม่ดี แตกหักเสียหายเป็นต้น
- Chargeback claims – ลูกค้าไม่พอใจสินค้าอยากได้เงินคืน ร้องเรียนผ่านระบบธนาคารของบัตรเครดิตรลูกค้า
- Product Policy Compliance – สินค้าลิขสิทธิ์ มีหลายหัวข้อโดยรวมเกี่ยวกับการร้องเรียนเรื่อง ลงสินค้าผิดระเบียบเช่น ลงสินค้าลิขสิทธิ์ หรือใช้รูปภาพลิขสิทธิ์ ผมคิดว่าการระวังควรระวังเรื่อง สินค้าในยี่ห้อที่ไม่ค่อยดังที่เราไม่รู้จักและรูปภาพ จากเจ้าของสินค้าที่ไม่อนุญาตให้เราใช้งาน
- Shipping Performance – เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าของร้านเราแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้
- Late Shipment Rate – การส่งสินค้าเกินกําหนด (Handling Time อยู่ในหัวข้อการลงสินค้า) Target: under 4% เกินได้แต่ห้ามเกิน 4% ของจํานวนรวมออร์เดอร์ในเดือนนั้นๆ
- Pre-fulfillment Cancel Rate – การยกเลิกออร์เดอร์เองจากเรา อาจมีหลายสาเหตุเช่น ไม่อับเดตสินค้า ทําให้ไม่มีสินค้าส่งเป็นต้น
4. Payment Summary – สรุป รายได้จากร้านของเรา
5. Manage Case Log – การติดตามเรื่องต่างๆที่เราถามไปหา Seller Support ว่าถึงใหนแล้ว
Seller Account Information – การจัดการข้อมูลสําคัญของเรา เช่น การรับเงิน,การอับเดต Tax Information,การเปลี่ยนชื่อร้านต่างๆเป็นต้น เราสามารถเข้าไปดูได้ที่มุมขวาบน Setting>>>Account Info

- Payment Information – เราสามารถเข้ามาเปลี่ยนข้อมูล การรับเงิน การตัดเงินค่าร้าน ได้ที่นี่ โดยผมจะเลือกยกตัวอย่างเฉพาะหัวข้อที่จําเป็น
- Deposit Method – การรับเงินจากการขายสินค้า ณ ตอนนี้ Hyperwallet,Payoneer
- Charge Method – ข้อมูลการคิดค่าเสียจาก Amazon เช่น ค่าร้านแบบ Professional 39.99 Usd/Month,ค่าโฆษณา เป็นต้นฺ
- Business Information – ข้อมูลเกี่ยวกับร้านเรา ถ้าจะอับเดต Tax Information ให้เลือกที่ Legal Entity
- Tax Information – อับเดต Tax Information
สําหรับการจัดการข้อมูลหลังร้านก็มีประมาณนี้ครับ และก็ยังมีเทคนิคอีกมากมายในการสร้างรายได้จากการขายของใน Amazon
ช่องทางการติดตาม เพจ: เรียนออนไลน์ ขายของ ในอเมซอน Youtube: เรียนออนไลน์ ขายของ ในอเมซอน เรียนรู้เคล็ดลับสร้างรายได้กับ Amazon ในปี 2019 www.selleramzcourse.com